สรุปกฏหมายที่มีโทษปรับเป็นพินัย มีหลักเกณฑ์ ตามที่กล่าวต่อไปนี้

๑. ไม่ใช่โทษทางอาญา

๒. จึงห้ามบันทึกการกระทำความผิดลงในทะเบียนประวัติอาชญากรรม

๓.ต้องเป็นโทษปรับสถานเดียวจึงถุกเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย

๔. หากปรับเป็นพินัยไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท เจ้าหน้าที่ของรัฐ ๑ คนมีอำนาจปรับได้  ถ้าปรับเกิน ๑๐,๐๐๐บาทต้องทำเป็นองค์คณะไม่น้อยกว่า ๓ คน

๕.ความผิดเกิดปรับเป็นพินัยทันทีไม่ได้ ต้องรวบรวมพยานหลักฐานและให้ผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจงภายในระยะเวลา ๓๐ วัน หากมีหลักฐานเพียงพอ จึงมีคำสั่งปรับพินัยเป็นหนังสือและส่งคำสั่งให้ทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ให้ถือว่าผู้ทำผิดได้รับแจ้งคำสั่งปรับเป็นพินัยตั้งแต่ครบ ๑๕ วันนับแต่ปรากฏในทะเบียนตอบรับ โดยต้องมีระยะเวลาชำระค่าปรับไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน แต่ไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับแจ้ง ดังนั้นการดักจับความเร็วแล้วออกใบสั่งให้ชำระค่าปรับทันทีทำไม่ได้แล้ว (เดิมออกใบสั่งได้ทันทีไม่ต้องรอขั้นตอนการแจ้งข้อหา ข้อเท็จจริง ข้อกฏหมายและการแจ้งข้อชี้แจง การแก้ข้อกล่าวหา)

๖. คำสั่งปรับเป็นพินัยต้องฟ้องภายใน ๒ ปี นับแต่วันกระทำความผิดไม่งั้นขาดอายุความ

๗.ไม่ชำระค่าปรับภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพยสินหรืออายัดสิทธิืเรียกร้องเพื่อชำระค่าปรับเป็นพินัยได้

๘.ระยะเวลาการบังคับชำระค่าปรับทางพินัยมีระยะเวลา ๕ ปีนับแต่วันมีคำสั่งหรือมีคำพิพากษา

๙.คดีที่ค้างพิจารณาคดีที่ศาลแล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย ให้การควบคุมตัวระหว่างพิจารณาสิ้นสุดลง การทำสัญญาประกันตัว(ปล่อยตัวชั่วคราว)สิ้นสุดลง การกักขังหรือกักขังแทนค่าปรับสิ้นสุดลง ค่าปรับที่ยังไม่ชำระตกเป็นพับ

๑๐. ความผิดที่ปรับเป็นพินัยอยู่่ท้ายบัญชี พรบ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย

๑๑. กฏหมายมีผลบังคับใช้เมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๖

             เรียบเรียงโดย ทนายเมธี  ศรีทะ