สรุปกฏหมายที่มีโทษปรับเป็นพินัย มีหลักเกณฑ์ ตามที่กล่าวต่อไปนี้

๑. ไม่ใช่โทษทางอาญา

๒. จึงห้ามบันทึกการกระทำความผิดลงในทะเบียนประวัติอาชญากรรม

๓.ต้องเป็นโทษปรับสถานเดียวจึงถุกเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย

๔. หากปรับเป็นพินัยไม่เกิน ๑๐,๐๐๐บาท เจ้าหน้าที่ของรัฐ ๑ คนมีอำนาจปรับได้  ถ้าปรับเกิน ๑๐,๐๐๐บาทต้องทำเป็นองค์คณะไม่น้อยกว่า ๓ คน

๕.ความผิดเกิดปรับเป็นพินัยทันทีไม่ได้ ต้องรวบรวมพยานหลักฐานและให้ผู้ถูกกล่าวหามาชี้แจงภายในระยะเวลา ๓๐ วัน หากมีหลักฐานเพียงพอ จึงมีคำสั่งปรับพินัยเป็นหนังสือและส่งคำสั่งให้ทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ให้ถือว่าผู้ทำผิดได้รับแจ้งคำสั่งปรับเป็นพินัยตั้งแต่ครบ ๑๕ วันนับแต่ปรากฏในทะเบียนตอบรับ โดยต้องมีระยะเวลาชำระค่าปรับไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน แต่ไม่เกิน ๓๐ วันนับแต่วันได้รับแจ้ง ดังนั้นการดักจับความเร็วแล้วออกใบสั่งให้ชำระค่าปรับทันทีทำไม่ได้แล้ว (เดิมออกใบสั่งได้ทันทีไม่ต้องรอขั้นตอนการแจ้งข้อหา ข้อเท็จจริง ข้อกฏหมายและการแจ้งข้อชี้แจง การแก้ข้อกล่าวหา)

๖. คำสั่งปรับเป็นพินัยต้องฟ้องภายใน ๒ ปี นับแต่วันกระทำความผิดไม่งั้นขาดอายุความ

๗.ไม่ชำระค่าปรับภายในเวลาที่ศาลกำหนด ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพยสินหรืออายัดสิทธิืเรียกร้องเพื่อชำระค่าปรับเป็นพินัยได้

๘.ระยะเวลาการบังคับชำระค่าปรับทางพินัยมีระยะเวลา ๕ ปีนับแต่วันมีคำสั่งหรือมีคำพิพากษา

๙.คดีที่ค้างพิจารณาคดีที่ศาลแล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นความผิดทางพินัย ให้การควบคุมตัวระหว่างพิจารณาสิ้นสุดลง การทำสัญญาประกันตัว(ปล่อยตัวชั่วคราว)สิ้นสุดลง การกักขังหรือกักขังแทนค่าปรับสิ้นสุดลง ค่าปรับที่ยังไม่ชำระตกเป็นพับ

๑๐. ความผิดที่ปรับเป็นพินัยอยู่่ท้ายบัญชี พรบ ว่าด้วยการปรับเป็นพินัย

๑๑. กฏหมายมีผลบังคับใช้เมื่อ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๖๖

             เรียบเรียงโดย ทนายเมธี  ศรีทะ

ฏีกาเช่าซื้อใหม่65 พลิกคำตัดสินถล่มทลาย หากเคลียร์หนี้ที่ค้างก่อนส่งมอบรถคืน แม้เซ็นต์รับผิดส่วนต่าง ก็ไม่ต้องจ่ายใดๆทั้งสิ้น

ถือเป็นคำพิพากษาศาลฎีกาใหม่ 1203/2565 ที่ตัดสินออกมาพลิกแนวการวินิจฉัยคดีเช่าซื้อของศาลอีกครั้ง เมื่อศาลฎีกาได้วางแนววินิจฉัยออกมาว่า การเคลียร์หนี้ที่ค้างตามสัญญาเช่าซื้อก่อนนำรถไปส่งมอบคืน ไม่ใช่การเลิกสัญญาตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อ เพราะไม่มีหนี้ที่ค้างชำระขณะส่งมอบรถคืน นอกจากนั้นการเซ็นต์รับผิดชอบการขายขาดราคาในขณะส่งมอบรถ ก็ถือว่าเป็นการทำสัญญารับผิด ในขณะที่ไม่หนี้อยู่จริง จึงไม่อาจบังคับกันได้ ดังนั้นผู้เช่าซื้อจึงไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ที่ค้างตามสัญญาเช่าซื้อใดๆทั้งสิ้น 
  ถือเป็นคำพิพากษาศาลฎีกา ที่พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเช่าซื้อรถยนต์ใหม่อีกครั้ง ที่ผู้เช่าซื้อหลายๆคนควรศึกษาไว้เป็นแนวทาง เผื่อขาดเหลือไม่มีเงินส่งค่างวด จะได้คืนรถอย่างปลอดภัยกันนะครับ./

#คำพิพากษาฎีกาที่ 1203/2565
ขณะจำเลยนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปคืนโจทก์ และโจทก์รับคืนไม่ปรากฏว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาข้อใดหรือมีหนี้ที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้อแก่โจทก์ จึงไม่อาจถือว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 ซึ่งต้องรับผิดชดใช้ค่าขาดราคาตามสัญญาข้อ 13 เพราะการแสดงเจตนาคืนรถที่จะถือว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อของผู้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 12 ที่ระบุว่า “ผู้เช่าซื้อจะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อในเวลาใดๆเสียก็ได้โดยผู้เช่าซื้อจะต้องคืนและส่งมอบรถยนต์…และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที…” ต้องปรากฏว่าจำเลยยังคงมีหนี้หรือเงินที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้ออยู่ในขณะที่ส่งมอบรถคืนโจทก์เมื่อจำเลยไม่มีเงินหรือหนี้ที่ต้องชำระตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีถือว่าจำเลยใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยการส่างมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นอันเลิกกันนับแต่วันที่จำเลยส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ โดยจำเลยไม่ได้ประพฤติผิดสัญญาและไม่มีหนี้ที่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 573 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาเช่าซื้อตามสัญญาจากจำเลย แม้จำเลยตกลงรับผิดในบรรดาหนี้ค้างชำระที่เกิดขึ้นจากการบอกเลิกสัญญาให้แก่โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 13 ตามหนังสือแสดงเจตนาคืนรถของจำเลยก็ตาม แต่หนังสือแสดงเจตนาคืนรถมิใช่สัญญาเช่าซื้อ เป็นเพียงหลักฐานการส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อคืนและจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อรับรองต่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อว่า หากโจทก์นำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขายได้เงินไม่พอชำระหนี้คงค้างตามสัญญา จำเลยจะยอมรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์ ซึ่งหามีผลให้จำเลยต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดแก่โจทก์ ซึ่งหามีผลให้จำเลยต้องรับผิดค่าขาดราคาตามเอกสารนั้นไม่ เพราะเป็นการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่ทั้งที่ไม่มีเนื่องจากโจทก์และจำเลยไม่มีมูลหนี้ค่าขาดราคาต่อกัน จึงไม่มีผลบังคับแก่กันได้/

กฎหมายยาเสพติดฉบับใหม่ พ.ศ.2564 มีโทษเบากว่ากฎหมายเก่าจ […]

พกพาอาวุธปืนอย่างไร ไม่ให้ติดคุก ?

พกพาอาวุธปืนอย่างไร ไม่ให้ติดคุก พอพูดถึงเรื่องนี้คงจะถูกใจใครต่อใครหลายคนทีเดียว เพราะชายไทยทั้งหลายก็ชอบพกพาปืนไปไหนต่อไหนอยู่แล้ว เรื่องจริงมีอยู่ว่า วันหนึ่งนายบุญรอด(นามสมมุติ)ขนย้ายสิ่งของไปบ้านอีกหลังหนึ่งโดยเอาอาวุธปืนใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางซึ่งมีกุญแจล็อคกระเป๋านั้นไว้ด้วยโดยวางกระเป๋านั้นไว้เบาะหลังรถยนต์ ระหว่างทางเจอด่านตำรวจขอตรวจ
ค้นรถยนต์แล้วก็พบอาวุธปืนดังกล่าว ตำรวจจึงจับกุมนายบุญรอดไปโรงพักและตั้งข้อหาพกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตไปตามระเบียบ นายบุญรอดซึ่งเคยได้ยินมาว่า ถ้าอาวุธปืนไม่ติดตัวก็ไม่ผิด เหตุนี้

Read more

ร้องขอศาลให้รับรองว่า มีสิทธิครอบครอง ได้หรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่า นายดำกับนายแดงมีที่ดินติดกัน ซึ่งทั้งคู่เป็นที่ดินมือเปล่า(ไม่มี ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือโฉนด) วันหนึ่งนายดำลักลอบย้ายหลักเขตของตนล้ำเข้าไปในที่ดินของนายแดง พอนายแดงรู้เรื่องดังกล่าว ก็จึง มาปรึกษาทนายเพื่อขอให้ยื่นฟ้องร้องขอให้ศาลรับรองว่า ตนมีสิทธิครอบครองในที่ดินของตน เช่นนี้ ทำได้หรือไม่ คำตอบ คือ ทำไม่ได้ เพราะอะไร คอยดูต่อไป
การที่บุคคลใดจะมีสิทธิครอบครองเหนือทรัพย์สินใดๆ มิใช่ให้ศาลรับรอง แต่ขึ้นอยู่กับว่า

1.บุคคลนั้นได้ยึดถือทรัพย์สินนั้นๆไว้หรือไม่(อาจมีบุคคลอื่นยึดถือไว้แทนก็ได้)

2.บุคคลนั้นๆมีเจตจำนงที่จะยึด

Read more

สาระน่ารู้ใน คดียาเสพติด มาตรา 100/2 คืออะไร

นำเสนอโดย ทนายเมธี    ศรีทะ   Tel. 062 – 414 9113

     คดียาเสพติด ผู้ถูกจับกุมในข้อหายาเสพติดฯ  เมื่อถูกนำตัวไปคุมขังภายในคุก(เรือนจำ)แล้ว  ก็จะทราบว่า นักโทษในคดียาเสพติดจะถูกจำกัดตัดสิทธิในการที่จะได้รับการลดโทษหลายอย่างไม่เหมือนนักโทษในคดีอื่นๆ  เช่น  เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในวาระต่างๆ นักโทษคดีอื่นๆก็จะได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่งเลยทีเดียว เช่น โทษ 30 ปี ก็จะลดลงเหลือ 15 ปี  แต่นักโทษคดียาเสพติดหากอยู่ในชั้นดี  ดีมาก หรือชั้นเยี่ยม ก็จะได้รับการลดโทษเพียง 1 ใน 6  หรือ 1 ใน 7  หรือ 1 ใน 8  เท่านั้น เช่น  โทษ 8 ปี ก็จะได้รับการลดโทษ 1 ปี จาก 8 ปี ก็คงเหลือโทษอีก 7 ปี  เป็นต้น  ดังนั้น  ปัญหาเรื่องโทษในคดียาเสพติดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ จำเลยในคดียาเสพติดแทบทุกคนจะต้องการให้ตนเองได้รับการตัดสินในอัตราโทษสถานเบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม  กฎหมายก็ยังเปิดช่องทางไว้อีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้จำเลยในคดียาเสพติดได้รับโทษ

ในสถานเบาได้อีกเป็นกรณีพิเศษ  นั่นคือ  ตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดแจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูลสำคัญอันเป็นประโยชน์ในการปราบปราม

ยาเสพติดให้โทษ  ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้

Read more