มีชื่อในทะเบียนบ้านเป็นเจ้าบ้าน จะเป็นเจ้าของบ้านหรือไม่

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริงแต่ป้องกันมิให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสียชื่อเสียงจึงใช้นามสมมุติ เรื่องมีอยู่ว่า นายใจดี(นามสมมุติ)
มีบ้านอยู่ 2 หลัง มีนิสัยเอื้อเฟื้อต่อคนอื่น จึงได้ยินยอมให้นายยากจน(นามสมมุติ)เข้าพักอยู่อาศัยในบ้านของ
ตนหลังหนึ่งโดยมิได้คิดค่าเช่า นายยากจนอยู่อาศัยในบ้านดังกล่าวหลายปีเรื่อยมาด้วยความสุขสำราญจนมีความคิดอยากได้บ้านดังกล่าวเป็นของตนเอง นายยากจนจึงไปดำเนินการทางทะเบียนราษฎร์จนมีชื่อของ

Read more

เช็คเด้ง แต่ไม่ติดคุก มีด้วยหรือ ?

นำเสนอโดย ทนายเมธี    ศรีทะ   Tel. 062 – 414 9113

ในยุคที่ระบบเศรษฐกิจขาดเงินสดหมุนเวียนในการติดต่อค้าขายทำธุรกิจต่างๆ  ระบบธนาคารจึงมีการออกเช็คจ่ายแทนเงินสดกันได้  เมื่อออกเช็คให้กันไปแล้ว  หากภายหลังธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ค กฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

(๒) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

(๓) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

(๔) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

(๕) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ  ”

แต่มีบางกรณีที่ออกเช็ค และเช็คเด้ง  แต่ไม่มีความผิดทางอาญา คือ ไม่ต้องติดคุก 

อุทาหรณ์ที่ 1  นายขาวตกลงซื้อรถยนต์มือสองจากนายแดงราคา 70,000 บาท นายขาวชำระเงินแล้ว 30,000

บาท  คงเหลือ 40,000 บาท เพราะมีเงินสดไม่พอ  เพื่อให้มีหลักประกันหนี้ดังกล่าว นายแดงได้ขอให้นายขาวออกเช็คให้ 1 ฉบับโดยระบุจำนวนเงินตามเช็ค 40,000 บาท  นายขาวก็ได้ออกเช็คให้  ต่อมาปรากฏว่า

ธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็ค  นายแดงจึงดำเนินคดีข้อหาเช็คเด้งแก่นายขาว  นายขาวต่อสู้คดีว่า ตนเองไม่มีความผิด  ต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฎีกา  ศาลฎีกาตัดสินว่า นายขาวไม่ผิดข้อหาเช็คเด้ง เพราะมีเจตนาแค่ออกเช็คเป็นหลักประกันเท่านั้น  ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4(1) แห่ง พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิด

จากการใช้เช็ค(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2547)   เห็นไหมละครับว่า เช็คเด้ง  แต่ไม่ติดคุก !

อุทาหรณ์ที่ 2  นางสาวโฉมฉายรักใคร่กับนายโลเลถึงขั้นทำพิธีหมั้นต่อกัน  แต่นางสาวโฉมฉายเกรงว่าหาก

นายโลเลผิดสัญญาหมั้น จะทำให้ตนได้รับความเสียหาย  นางสาวโฉมฉายจึงขอให้นายโลเลออกเช็คให้ระบุ

เงินตามเช็คจำนวน 200,000 บาท  ภายหลังต่อมานายโลเลไปเจอหญิงคนใหม่ที่ถูกใจมากกว่า  จึงเลิกคบหากับนางสาวโฉมฉายและไม่แต่งงานกับนางสาวโฉมฉาย   นางสาวโฉมฉายจึงฟ้องร้องดำเนินคดีกับนายโลเล

ในข้อหาเช็คเด้ง  นายโลเลต่อสู้คดีว่า ตนเองไม่มีความผิด  ต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฎีกา  ศาลฎีกาตัดสินว่า นายโลเลไม่ผิดข้อหาเช็คเด้ง เพราะขณะนายโลเลออกเช็คนั้น  ทั้งคู่ยังไม่มีหนี้ใดๆต่อกัน  ซึ่งไม่เข้าองค์ประกอบ

ความผิดตาม มาตรา 4 วรรคแรก ของ พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12007/2553)

นอกจากที่กล่าว  หากมีปัญหาใดๆเรื่องเช็คเด้ง หรือปัญหาทางกฎหมายทุกเรื่อง  โทรปรึกษาทนายเมธี  ศรีทะ ได้ฟรี โทร.062-414 9113 หรือทางอีเมล์ methi928@gmail.com

หรือทางไลน์(ไอดีไลน์) mt155211 หรือคิวอาร์โค๊ดไลน์

 หรือติดต่อทาง facebook ตามลิงค์นี้

https://www.facebook.com/profile.php?id=100057608229272