เรื่อง

พกพาอาวุธปืนอย่างไร ไม่ให้ติดคุก ?

พกพาอาวุธปืนอย่างไร ไม่ให้ติดคุก พอพูดถึงเรื่องนี้คงจะถูกใจใครต่อใครหลายคนทีเดียว เพราะชายไทยทั้งหลายก็ชอบพกพาปืนไปไหนต่อไหนอยู่แล้ว เรื่องจริงมีอยู่ว่า วันหนึ่งนายบุญรอด(นามสมมุติ)ขนย้ายสิ่งของไปบ้านอีกหลังหนึ่งโดยเอาอาวุธปืนใส่ไว้ในกระเป๋าเดินทางซึ่งมีกุญแจล็อคกระเป๋านั้นไว้ด้วยโดยวางกระเป๋านั้นไว้เบาะหลังรถยนต์ ระหว่างทางเจอด่านตำรวจขอตรวจ
ค้นรถยนต์แล้วก็พบอาวุธปืนดังกล่าว ตำรวจจึงจับกุมนายบุญรอดไปโรงพักและตั้งข้อหาพกพาอาวุธปืนไปในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตไปตามระเบียบ นายบุญรอดซึ่งเคยได้ยินมาว่า ถ้าอาวุธปืนไม่ติดตัวก็ไม่ผิด เหตุนี้

Read more

ร้องขอศาลให้รับรองว่า มีสิทธิครอบครอง ได้หรือไม่

เรื่องมีอยู่ว่า นายดำกับนายแดงมีที่ดินติดกัน ซึ่งทั้งคู่เป็นที่ดินมือเปล่า(ไม่มี ส.ค.1 หรือ น.ส.3 หรือโฉนด) วันหนึ่งนายดำลักลอบย้ายหลักเขตของตนล้ำเข้าไปในที่ดินของนายแดง พอนายแดงรู้เรื่องดังกล่าว ก็จึง มาปรึกษาทนายเพื่อขอให้ยื่นฟ้องร้องขอให้ศาลรับรองว่า ตนมีสิทธิครอบครองในที่ดินของตน เช่นนี้ ทำได้หรือไม่ คำตอบ คือ ทำไม่ได้ เพราะอะไร คอยดูต่อไป
การที่บุคคลใดจะมีสิทธิครอบครองเหนือทรัพย์สินใดๆ มิใช่ให้ศาลรับรอง แต่ขึ้นอยู่กับว่า

1.บุคคลนั้นได้ยึดถือทรัพย์สินนั้นๆไว้หรือไม่(อาจมีบุคคลอื่นยึดถือไว้แทนก็ได้)

2.บุคคลนั้นๆมีเจตจำนงที่จะยึด

Read more

สาระน่ารู้ใน คดียาเสพติด มาตรา 100/2 คืออะไร

นำเสนอโดย ทนายเมธี    ศรีทะ   Tel. 062 – 414 9113

     คดียาเสพติด ผู้ถูกจับกุมในข้อหายาเสพติดฯ  เมื่อถูกนำตัวไปคุมขังภายในคุก(เรือนจำ)แล้ว  ก็จะทราบว่า นักโทษในคดียาเสพติดจะถูกจำกัดตัดสิทธิในการที่จะได้รับการลดโทษหลายอย่างไม่เหมือนนักโทษในคดีอื่นๆ  เช่น  เมื่อมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในวาระต่างๆ นักโทษคดีอื่นๆก็จะได้รับการลดโทษลงกึ่งหนึ่งเลยทีเดียว เช่น โทษ 30 ปี ก็จะลดลงเหลือ 15 ปี  แต่นักโทษคดียาเสพติดหากอยู่ในชั้นดี  ดีมาก หรือชั้นเยี่ยม ก็จะได้รับการลดโทษเพียง 1 ใน 6  หรือ 1 ใน 7  หรือ 1 ใน 8  เท่านั้น เช่น  โทษ 8 ปี ก็จะได้รับการลดโทษ 1 ปี จาก 8 ปี ก็คงเหลือโทษอีก 7 ปี  เป็นต้น  ดังนั้น  ปัญหาเรื่องโทษในคดียาเสพติดจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ จำเลยในคดียาเสพติดแทบทุกคนจะต้องการให้ตนเองได้รับการตัดสินในอัตราโทษสถานเบาที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

อย่างไรก็ตาม  กฎหมายก็ยังเปิดช่องทางไว้อีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้จำเลยในคดียาเสพติดได้รับโทษ

ในสถานเบาได้อีกเป็นกรณีพิเศษ  นั่นคือ  ตาม พรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2 ได้บัญญัติไว้ว่า ถ้าผู้กระทำความผิดในคดียาเสพติดแจ้งเบาะแส หรือให้ข้อมูลสำคัญอันเป็นประโยชน์ในการปราบปราม

ยาเสพติดให้โทษ  ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้

Read more

เช็คเด้ง แต่ไม่ติดคุก มีด้วยหรือ ?

นำเสนอโดย ทนายเมธี    ศรีทะ   Tel. 062 – 414 9113

ในยุคที่ระบบเศรษฐกิจขาดเงินสดหมุนเวียนในการติดต่อค้าขายทำธุรกิจต่างๆ  ระบบธนาคารจึงมีการออกเช็คจ่ายแทนเงินสดกันได้  เมื่อออกเช็คให้กันไปแล้ว  หากภายหลังธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็ค กฎหมายก็เข้ามาเกี่ยวข้อง คือ พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๔ บัญญัติว่า “ ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น

(๒) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้

(๓) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น

(๔) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้

(๕) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือทั้งปรับทั้งจำ  ”

แต่มีบางกรณีที่ออกเช็ค และเช็คเด้ง  แต่ไม่มีความผิดทางอาญา คือ ไม่ต้องติดคุก 

อุทาหรณ์ที่ 1  นายขาวตกลงซื้อรถยนต์มือสองจากนายแดงราคา 70,000 บาท นายขาวชำระเงินแล้ว 30,000

บาท  คงเหลือ 40,000 บาท เพราะมีเงินสดไม่พอ  เพื่อให้มีหลักประกันหนี้ดังกล่าว นายแดงได้ขอให้นายขาวออกเช็คให้ 1 ฉบับโดยระบุจำนวนเงินตามเช็ค 40,000 บาท  นายขาวก็ได้ออกเช็คให้  ต่อมาปรากฏว่า

ธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็ค  นายแดงจึงดำเนินคดีข้อหาเช็คเด้งแก่นายขาว  นายขาวต่อสู้คดีว่า ตนเองไม่มีความผิด  ต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฎีกา  ศาลฎีกาตัดสินว่า นายขาวไม่ผิดข้อหาเช็คเด้ง เพราะมีเจตนาแค่ออกเช็คเป็นหลักประกันเท่านั้น  ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 4(1) แห่ง พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิด

จากการใช้เช็ค(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 734/2547)   เห็นไหมละครับว่า เช็คเด้ง  แต่ไม่ติดคุก !

อุทาหรณ์ที่ 2  นางสาวโฉมฉายรักใคร่กับนายโลเลถึงขั้นทำพิธีหมั้นต่อกัน  แต่นางสาวโฉมฉายเกรงว่าหาก

นายโลเลผิดสัญญาหมั้น จะทำให้ตนได้รับความเสียหาย  นางสาวโฉมฉายจึงขอให้นายโลเลออกเช็คให้ระบุ

เงินตามเช็คจำนวน 200,000 บาท  ภายหลังต่อมานายโลเลไปเจอหญิงคนใหม่ที่ถูกใจมากกว่า  จึงเลิกคบหากับนางสาวโฉมฉายและไม่แต่งงานกับนางสาวโฉมฉาย   นางสาวโฉมฉายจึงฟ้องร้องดำเนินคดีกับนายโลเล

ในข้อหาเช็คเด้ง  นายโลเลต่อสู้คดีว่า ตนเองไม่มีความผิด  ต่อสู้คดีจนถึงชั้นศาลฎีกา  ศาลฎีกาตัดสินว่า นายโลเลไม่ผิดข้อหาเช็คเด้ง เพราะขณะนายโลเลออกเช็คนั้น  ทั้งคู่ยังไม่มีหนี้ใดๆต่อกัน  ซึ่งไม่เข้าองค์ประกอบ

ความผิดตาม มาตรา 4 วรรคแรก ของ พรบ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. ๒๕๓๔(ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12007/2553)

นอกจากที่กล่าว  หากมีปัญหาใดๆเรื่องเช็คเด้ง หรือปัญหาทางกฎหมายทุกเรื่อง  โทรปรึกษาทนายเมธี  ศรีทะ ได้ฟรี โทร.062-414 9113 หรือทางอีเมล์ methi928@gmail.com

หรือทางไลน์(ไอดีไลน์) mt155211 หรือคิวอาร์โค๊ดไลน์

 หรือติดต่อทาง facebook ตามลิงค์นี้

https://www.facebook.com/profile.php?id=100057608229272